แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (Performance Agreement : PA) ผ่านระบบออนไลน์นี้ จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอข้อตกลงในการพัฒนางานสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง ครู ประจำปีงบประมาณ 2567 ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2566 – 30 กันยายน 2567 ได้นำเสนอต่อผู้อำนวยการโรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคมเพื่อเป็นข้อตกลงแนวทางในการพัฒนาตนเองเพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ ทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่ดีของผู้เรียน ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน ดังนี้
ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษอ่าน-เขียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 พบว่า ผู้เรียนส่วนใหญ่มีทักษะการอ่านเพื่อความเข้าใจอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากนักเรียนขาดการฝึกทักษะการอ่าน และไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันเท่าที่ควร หากนักเรียนไม่ได้รับการแก้ไขหรือพัฒนา จะทำให้เรียนไม่เข้าใจ เกิดความเบื่อหน่าย ไม่มั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ และไม่อยากเรียนภาษาอังกฤษตามลำดับ
ใช้กระบวนการ PDCA หรือวงจรบริหารงานคุณภาพ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ Plan-Do-Check-Act หรือ วางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ-ปรับปรุง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ดังต่อไปนี้
2.1 Plan
2.1.1 ศึกษา วิเคราะห์หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม กลุ่มสาระฯ ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ในเรื่องมาตรฐานการเรียนรู้ และตัวชี้วัดของเนื้อหารายวิชาภาษาอังกฤษอ่าน-เขียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
2.1.2 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom)
2.2 Do
2.2.1 เปิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) โดยครูในกลุ่มสาระฯ ภาษาต่างประเทศ และเข้าไปสังเกตการจัดการเรียนรู้ ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องในเนื้อหา การจัดกิจกรรม สังเกตพฤติกรรม และใบงานในการจัดการเรียนรู้ พร้อมทั้งเสนอแนะ และสะท้อนผลการจัดกิจกรรมเพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไขให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษและมีสมรรถนะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
2.3 Check
2.3.1 ครูผู้สอนนำกิจกรรมมาปรับปรุง แก้ไขตามคำแนะนำของคณะครูในกลุ่มสาระฯ ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม
2.3.2 ครูผู้สอนสร้างแบบทดสอบ และแบบบันทึกผลการปฏิบัติกิจกรรม
2.4 Act
จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โดยปรับบริบทให้เหมาะสมกับห้องเรียน ให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมทั้งแบบเดี่ยว คู่ กลุ่ม และทั้งห้อง ได้ลงมือปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักเรียนได้มีทักษะในการอ่านภาษาอังกฤษที่ดี โดยครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมตามลำดับขั้นต่อไปนี้
2.4.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามธรรมชาติของวิชา
2.4.2 จัดกิจกรรมอย่างหลากหลายและเหมาะสมกับผู้เรียน
2.4.3 ใช้สื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
2.4.4 ใช้เครื่องมือวัดผลและประเมินผลอย่างเหมาะสม
2.4.5 วิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล
ขั้นตอนของการจัดการเรียนรู้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) มีดังต่อไปนี้
- กิจกรรมที่บ้าน
– ครูมอบหมายให้นักเรียนอ่านบทอ่านผ่านทางเว็บไซต์ห้องเรียนออนไลน์ที่ครูสร้างขึ้น
– นักเรียนบันทึกประเด็นสำคัญที่พบในบทอ่าน
– นักเรียนเขียนคำถาม 3 ข้อจากบทอ่าน
- กิจกรรมในห้องเรียน
2.1 ขั้นก่อนการอ่าน
– ครูและนักเรียนอภิปรายเกี่ยวกับประเด็นสำคัญที่นักเรียนพบในบทอ่านร่วมกัน และครูอธิบายประเด็นที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ
– นักเรียนบอกครูถึงคำถามที่พบจากบทอ่านที่เขียนมาจากบ้าน จากนั้นครูพิมพ์ในโปรแกรม Microsoft Words แสดงขึ้นจอโทรทัศน์หน้าชั้นเรียน และให้ช่วยกันตอบคำถามเหล่านั้น
– ครูสอนคำศัพท์และโครงสร้างประโยคที่พบในบทอ่าน โดยการยกตัวอย่าง และให้นักเรียนจดบันทึกลงในสมุด
2.2 ขั้นระหว่างการอ่าน
– ครูให้นักเรียนอ่านบทอ่าน และทำใบงานที่ 1 เป็นคู่เพื่อเรียงลำดับเหตุการณ์จากการอ่านบทอ่าน แล้วร่วมกันเฉลยคำตอบของใบงานที่ 1 ครูให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ
– ครูแบ่งกลุ่มนักเรียน กลุ่มละ 4 คน (คละความสามารถ) แล้วให้นักเรียนอ่านบทอ่านอีกรอบและทำใบงานที่ 2 การหาใจความสำคัญ รายละเอียดของเรื่อง การตีความ การสรุปความ และให้แต่ละกลุ่มนำเสนอคำตอบของตน ครูให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ
– นักเรียนทำใบงานที่ 3 การสร้างผังความคิด (Mind mapping) สรุปประเด็นสำคัญทั้งคำศัพท์ โครงสร้าง และใจความของบทอ่าน แล้วส่งตัวแทนนำเสนอหน้าชั้นเรียน ครูให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในประเด็นที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ
2.3 ขั้นหลังการอ่าน
– ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดการอ่านเพื่อความเข้าใจ เพื่อตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียน จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบ
– ครูและนักเรียนสรุปบทเรียนร่วมกัน
– ครูมอบหมายบทอ่านต่อไปในห้องเรียนออนไลน์ที่ครูสร้างขึ้นเพื่อให้นักเรียนไปอ่านล่วงหน้า
เชิงปริมาณ ผู้เรียนที่ได้รับการแก้ปัญหาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ด้วยแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 70 มีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสูงขึ้น
เชิงคุณภาพ ผู้เรียนมีทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจมากขึ้นในระดับดี และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
ผู้เรียนร้อยละ 94 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ร้อยละ 70
ผู้เรียนร้อยละ 90 ได้รับการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ และเขียนที่ระดับ 3 และ ผู้เรียนร้อยละ 10 ได้รับการประเมินที่ระดับ 2
ผู้เรียนร้อยละ 94 ได้รับการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ระดับ 3 และ ผู้เรียนร้อยละ 6 ได้รับการประเมินที่ระดับ 2
ผู้เรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในการสอนการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่ 4.82 (ระดับดีมาก)